สำนักงานสิทธิมนุษยชนความยั่งยืนและการระดมทรัพยากร

    สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย  

นพนัย  ฤทธิวงศ์
รองผู้อำนวยการ
สำนักงานสิทธิมนุษยชน
ความยั่งยืนและระดมทรัพยากร

ปัทวี พิมายรัมย์
ผู้จัดการงานสื่อสารองค์กร

อันธิกา ขอย้ายกลาง
เจ้าหน้าที่แผนงานปฏิบัติการ

สัญชัย นิระมล
เจ้าหน้าที่กิจกรรมชุมชน
ด้านสิทธิมนุษยชน

ปาณภัสสร์ กิตติไชย
เจ้าหน้าที่วิชาการด้านสิทธิ
และส่งเสริมความเท่าเทียม

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน

   (สสท)    

สิทธิมนุษยชน (Human Rights)

สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่มีตามธรรมชาติซึ่งติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด รวมถึง สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามกฎหมายซึ่งมีการรับรองไว้ โดยทั่วโลกให้การยอมรับ

มิติเรื่องเพศ

อัตลักษณ์ทางเพศ คือ เพศที่บุคคลรู้สึกแบบล้ำลึกเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งอาจสอดคล้องหรือตรงข้ามกับเพศโดยกำเนิดก็ได้

รสนิยมทางเพศ คือ พื้นฐานของอารมณ์ ความใคร่ และ/หรือ ความสนใจทางเพศ ความรู้สึก ความชอบ ต่อเพศชาย หญิง หรือทั้งสองเพศ หรือไม่สนใจเพศใดเลยก็ได้

เพศสรีระ คือ อวัยวะเพศ ลักษณะเพศทางกายภาพที่มองเห็นจากภายนอก และเพศที่ถูกระบุทางพันธุกรรมหรือโครโมโซม

การแสดงออกทางเพศ คือ การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง และการแสดงออกที่รับรู้ในสายตาผู้อื่น ซึ่งอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการแสดงออก เช่น วัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ

LGBTIQs คืออะไร?

LGBTIQs คือ กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยใช้ตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ

L : Lesbian: ผู้หญิงที่รักผู้หญิงด้วยกัน ทางอารมณ์ ทางความสัมพันธ์ทางเพศ หรือทางกาย

G : Gay: ผู้ชายที่รักผู้ชายด้วยกัน ทางอารมณ์ ทางความสัมพันธ์ทางเพศ หรือทางกาย

B : Bisexual: คนที่รักได้ทั้งชายและหญิง ทางอารมณ์ ทางความสัมพันธ์ทางเพศ หรือทางกาย

T : Transgender (transmen, transwomen, TG): คนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศแตกต่างจากเพศกำเนิด

I : Intersex: คนที่มีอวัยวะเพศกำกวม อาจมีลักษณะที่ไม่ตรงกับเพศชายหรือหญิง หรือมีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศ

Q : Queer: คนที่ไม่กำหนดและนิยามความเป็นเพศของตนเอง

กฎหมายระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน

บันทึกตกลงความร่วมมือ

เพื่อบังคับใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558

วีดิทัศน์

  (Video)

เอกสารเผยแพร่

อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศร ( CAT )

สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการ ลงโทษอื่น ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่่ายีศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2527 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 26 มิถุนายน 2530 ปัจจุบันมีประเทศลงนามแล้ว จ่านวน 80 ประเทศ และมีประเทศที่เป็นภาคีแล้ว 154 ประเทศ


อนุสัญญา CEDAW คืออะไร?

คืออนุสัญญาที่มุ่งขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในทุกรูปแบบ


อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

หลักกฏหมายระหว่างประเทศทั่วไปเกี่ยวกับสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ


อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ( CERD )

โดยพิจารณาว่า กฎบัตรสหประชาชาติตั้งอยู่บนหลักการของศักดิ์ศรี และความเสมอภาคของมนุษย์ทั้งมวล และโดยพิจารณาว่า รัฐสมาชิก ได้ประกาศตนที่จะร่วมกันดำ เนินการ โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ประการหนึ่งของสหประชาชาติในอันที่จะส่งเสริม และสนับสนุนความเคารพและนับถือในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทั้งมวล โดยไม่มีการจำ แนกความแตกต่างในเรื่อง เชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา


อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี

โดยพิจารณาว่า ตามหลักที่ประกาศไว้ในกฏบัตรสหประชาชาติ การยอมรับสิทธิที่ เท่าเทียมกันและโอนมิได้ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์ เป็นรากฐานแห่งเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก


อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ( CRPD )

อนุสัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พิทักษ์และรับรองให้คนพิการได้ใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่และเสมอภาค และส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของบุคคลเหล่านี้


อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ( CRC )

การไม่เลือกปฏิบัติและประโยชน์สูงสุดของเด็กสำหรับเนื้อหาสาระประกอบด้วย สิทธิของเด็ก 4 ด้านได้แก่ สิทธิในการอยู่รอด สอทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม


กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( ICCPR )

กล่าวถึงพันธกรณีของรัฐด้านสิทธิมนุษยชนตามกฏบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งหน้าที่ของบุคคลที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และได้รับสิทธิทั้งด้านพลเมือง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน


กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ( ICESCR )

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมประกอบด้วย วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 31 ข้อ แบ่งเป็น 5 ส่วน


หลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติ เพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ( ParisPrinciples )

หลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติ เพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Principle relating to the status and functioning of national institution for protection and promotion of human rights) หรือหลักการปารีส (Paris Principles)


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights

เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับหลักการสากล ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองซึ่งไม่ควรถูก ละเมิด และการเคารพสิทธิของผู้อื่นซึ่งจะช่วยส่งเสริม สันติสุขภายในสังคม


หลักการยอกยาการ์ตา YOGYAKARTA PRINCIPLES

ว่าด้วยการใช้กฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศแนวทางสร้างหลักประกันคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้ก้าวไปสู่ความเสมอภาคและเคารพสิทธิทางเพศ


สาระน่ารู้  "รู้หรือไม่ว่า"

1คำถาม
คำตอบ
2คำถาม
คำตอบตอบ
3คำถาม
คำตอบตอบ
4คำถาม
คำตอบตอบ