ประวัติและความเป็นมา

 
          ปี พ.ศ.๒๕๔๑ มีกะเทยและชายรักชายเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์รายใหม่เข้ามายังชมรมเพื่อนวันพุธ ชมรมผู้ติดเชื้อเอชไอวีของสภากาชาดไทยจำนวนมาก แต่ในเวลาดังกล่าวกลับไม่มีกิจกรรมจากทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนที่ทำงานกับกลุ่มกะเทยและชายรักชายเลย อาสาสมัครเริ่มรวมตัวกันในการให้ความรู้ด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่กับกลุ่มกะเทยและชายรักชาย ในช่วงเวลาดังกล่าวก็มีการนำเสนอภาพลักษณ์ของกลุ่มคนที่แตกต่างไปจากหญิงชายรักต่างเพศในมุมเป็นพวกคนที่นิยมความรุนแรง ทำร้ายร่างกายจนเกิดการฆาตกรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อสาธารณะ อาสาสมัครจึงจัดเสวนาปัญหาด้านเพศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง ๒๐๐ คน จากเวทีดังกล่าวผู้สนใจกิจกรรมสาธารณะรวมตัวกันตั้ง “ชมรมเส้นทางสีรุ้ง” ในปี พ.ศ.๒๕๔๒
          ชมรมเส้นทางสีรุ้ง ต้องการกำหนดทิศทางการทำงานจึงนำคนในแต่ละชุมชนมาระดมความคิดเห็น กำหนดออกมา ๒ ประเด็น คือการทำงานเพื่อลดปัญหาสุขภาพอนามัยที่มีสาเหตุจากเพศเป็นปัจจัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมของคนทุกเพศในสังคม พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น “กลุ่มฟ้าสีรุ้ง” ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ และ “องค์กรฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย” ในปี พ.ศ.๒๕๔๔
          องค์กรฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และศูนย์ความร่วมมือ ไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ร่วมกันทำโครงการสำรวจความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในกรุงเทพมหานคร ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งผลการติดเชื้อออกมาสูงถึงร้อยละ ๑๗.๘ ทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากและมีองค์กรที่ทำงานในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายเกิดในประเทศไทยมากมาย กลุ่มอาสาสมัครฟ้าสีรุ้งเองก็รวมตัวกันเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งมากขึ้นแล้วจดทะเบียนเป็น “สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย” ในปี พ.ศ.๒๕๔๖
25

จำนวนปีที่ให้บริการ

 
 
Rainbow Sky Association Of Thailand

แนวคิดชื่อ “ฟ้าสีรุ้ง”

“ฟ้าสีรุ้ง” หมายถึง ฟ้าที่มีสายรุ้งพาดหลังพายุฝนผ่านไป เสมือนสังคมที่ผ่านช่วงเลวร้ายเป็นสังคมที่ผ่านการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ แล้ว
 

Our new five-year strategic plan (2023-2027)

วิสัยทัศน์ "VISION"

LGBTIQN+ ในประเทศไทยต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับสิทธิและมีส่วนร่วมในสังคมอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมโดยปราศจากการตีตราและเลือกปฏิบัติ

“LGBTQIA+ in Thailand enjoy full and equal rights and face no discrimination or barriers to their participation in society.”

พันธกิจ "MISSION"

เรามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของ LGBTIQN+ โดยการสร้างความตระหนักถึงสิทธิศักดิ์ศรีและการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดความเสมอภาค เท่าเทียมและยั่งยืน

“We are driven to improve the lives of LGBTQIA+ through change in order to realize their rights, appreciate their contributions and ensure their ability to participate fully in developing and sustaining a more inclusive and equitable society.”

เป้าหมาย "GOAL"

บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการปกป้อง คุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนเข้าถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม

Our goal is for all LGBTQIA+ to be able to benefit from and contribute to a more inclusive and equitable society in which their rights are protected.

Core Values

  • Understanding the needs of the LGBTQIA+ community
  • Gender equality fully including LGBTQIA+
  • Access to quality services for LGBTQIA+ as a right
  • Inclusiveness of LGBTQIA+ in society throughout the life course
  • LGBTQIA+ health and wellbeing

Our Strategic Priorities

11. Improve human rights for LGBTQIA+
• Monitor situation on human rights for LGBTQIA+ in Thailand
• Enhance participation of LGBTQIA+ in human rights advocacy through education, training and support systems
• Address stigmatization and discrimination of LGBTQIA+ through improved reporting/documentation
• Address gender-based violence (GBV) against LGBTQIA+ through improved reporting/documentation
22. Build capacity of LGBTQIA+ in society
  • Enhance management system and capacity for supporting human resource development
  • Evaluate the volunteer system and develop an action plan – membership, governance, financing and results
33. Intensify and sustain LGBTQIA+-led health services
  • Intensify reach and recruit capacity to improve access to health services for high risk
LGBTQIA+, focusing on:
    • PrEP/PEP and condom promotion
    • HIV testing and STI screening
    • Referral services for HIV and STI treatment
    • Harm reduction
    • Expand mental health services and referral network
    • Increase reach of unreached LGBTQIA+ through use of technologies and innovations to (e,g. PrEP, self testing, online reach/recruit)
  • Put in place systems to enable and enhance domestic funding for all HIV and relevant health services
44. Enhance national partnerships and regional collaboration for greater impact
• Provide leadership on LGBTQIA+ at the national level through priority-setting, campaigning and advocacy
• Expand partnerships with relevant organizations to enhance program impact
• Expand regional collaboration to enable the transfer of knowledge and skills to support health/HIV programming for LGBTQIA+
55. Strengthen in-house capacity
• Put in place a training plan in key skill areas, e.g. human rights, resource mobilization, GBV, M&E, English language skills
• Strengthen the strategic information system for improved programming and evidence for advocacy, e.g. metrics on human rights for LGBTQAI+
• Develop linked programmers with selected organizations/institutions, e.g. NGOs, foundations, universities, Think Tanks, etc
• Develop effective external communications – website and annual reporting/reporting on specific issues
• Promote emotional wellness and a safe, friendly environment for staff